หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานรักษาความปลอดภัย
หน้าที่โดยทั่วไป

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปกป้องดูแลชีวิต และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างไม่ให้ได้รับความสูญหาย เสียหาย รวมทั้งการป้องกันอัคคีภัย ผู้บุกรุกเข้าไปในเขตหวงห้าม ป้องกันการโจรกรรม และอาชญากรรม การสูญเสียอื่นๆ ตลอดจนความเสียหายต่างๆ ในอันที่จะทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสูญเสียผลประโยชน์ไป
ความรับผิดชอบในหน้าที่

1. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของ บจก. และเชื่อฟังคำสั่งโดยชอบของผู้จัดการโดยเคร่งครัด

2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในจุดหรือบริเวณที่กำหนด

3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะละทิ้งหน้าที่ไปก่อนที่จะมีผู้เข้ารับเวรต่อเนื่องไม่ได้ ต้องรอจนกว่าจะมีผู้ที่มาเข้ารับเวรก่อนจึงจะออกไปจากสถานที่ไม่ได้ (เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยขึ้นไป)

4. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องมาถึงจุดปฏิบัติงานก่อนเวลาทำงาน (อย่างน้อย 15 นาที) เพื่อรับส่งมอบงาน และประสานงานระหว่างพนักงานด้วยกันในผลัดเก่า และเมื่อเสร็จภาระหน้าที่แล้ว ให้ออกนอกสถานที่โดยทันที ไม่อนุญาตให้อยู่ในบริเวณสถานที่ทำงาน

5. การตัดสินใจกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่ บจก. มิได้กำหนดให้ หากเกิดความเสียหาย หรือมีผู้เรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายนั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง 

6. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตื่นตัว รวดเร็ว และจะต้องพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในทุกรูปแบบ

7. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานที่ทาง บจก.ฯ ให้นำติดตัวไปและพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา รวมทั้งจะต้องคอยดูแลรักษาเครื่องแบบ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทาง บจก. มอบให้ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

8. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามตารางเวลาที่ได้กำหนดไว้

9. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะแลกเปลี่ยนเวลาการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างพนักงานด้วยกันเองไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้จัดการฯ หรือหัวหน้าแผนกปฏิบัติการก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติได้

10. ห้ามนำบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของตนเข้าไปในสถานที่ทำงานของผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือเพื่อน หากพบเห็นถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

11. ถือเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่จะต้องเรียนรู้ และศึกษางานในหน้าที่ และรายละเอียดในการปฏิบัติอยู่ให้เข้าใจ เพื่อจะสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องเรียบร้อย และได้ผลสมตามความมุ่งหมายของ บจก.
คำแนะนำพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

1. การเกิดเหตุอาชญากรรม หรือโจรกรรม
ถ้า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพบว่าเกิดเหตุอาชญากรรม หรือโจรกรรมขึ้นภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง จะต้องปฏิบัติ ดังนี้.-
- แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบโดยทันที
- แจ้งให้ทาง บจก. ทราบ โดยผ่านหัวหน้า หรือผู้จัดการ
- แจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ
- ห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณโดยเด็ดขาด
- ห้ามแตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในบริเวณที่เกิดเหตุ ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมา

2. การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะขอเข้าไปในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้างเพื่อต้องการตรวจค้น หรือเข้าไปสอบสวนบางสิ่งบางอย่าง ขอให้รายงานให้ผู้ว่าจ้างทราบก่อน เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปทำการตรวจค้น หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง โดยปราศจากหมายค้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าไปในสถานที่ของผู้ว่าจ้างได้ในกรณีต่อไปนี้
2.1. มีหมายค้นเป็นหนังสือของทางราชการถูกต้อง
2.2. ผู้ว่าจ้างเชิญให้มา (หรือได้รับอนุญาตแล้ว)
2.3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเชิญให้มาเนื่องจากเกิดเหตุอาชญากรรม หรือโจรกรรมขึ้นมาภายในสถานที่ของผู้ว่าจ้าง 

3. การป้องกันอัคคีภัย
เมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตรวจพบว่ามีเหตุไฟไหม้เกิดขึ้น สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติคือ เข้าระงับต้นเพลิงทันที โดยใช้เครื่องมือหรือถังดับเพลิงเคมีที่มีอยู่ในสถานที่ของผู้ว่าจ้างนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่พนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ 
3.1. ระงับต้นเพลิง (ดับไฟ) ทันที 
3.2. ช่วยเหลือชีวิตผู้ประสบภัยเท่าที่สามารถทำได้
3.3. กดสัญญาณเตือนภัย (ถ้ามี)
3.4. แจ้งหน่วยดับเพลิง (199) หรือสถานีตำรวจดับเพลิงที่อยู่ใกล้เคียง
3.5. แจ้งให้หน่วยดับเพลิงทราบถึงสถานที่ที่เกิดเพลิงไหม้โดยละเอียด ระบุจุดเกิดเพลิงในสถานที่นั้น และบริเวณใกล้เคียงที่ไฟสามารถลุกลามได้ง่ายหรือไม่ และควรจะเข้ามาที่จุดเกิดเพลิงโดยเส้นทางไหน
3.6. ปิดประตูหน้าต่างทุกบาน เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามมากยิ่งขึ้น
3.7. เคลียร์เส้นทางให้หน่วยดับเพลิง (บันทึกเวลาที่หน่วยดับเพลิงมาถึง) นำหน่วยดับเพลิงไปยังจุดเกิดเพลิง
3.8. แนะนำหน่วยดับเพลิงเกี่ยวกับสถานที่
3.9. ให้หน่วยดับเพลิงเป็นผู้เข้าผจญเพลิง
3.10. แจ้งให้ บจก. ทราบโดยผ่านทางหัวหน้า หรือผู้จัดการ
3.11. แจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ 



เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย

รายการปฏิบัติ           
•อำนวยความสะดวกและต้อนรับจนสร้างความประทับใจแก่บุคคลทั่ว   ไปเกิดภาพลักษณ์ที่ดีงามแก่องค์กร
•ควบคุมการผ่านเข้า-ออก บุคคล/ยานพาหนะอย่างมีประสิทธิภาพตามความมุ่งหมายในการ รปภ. และการพิทักษ์ประโยชน์แก่องค์กร
การดูแลความเรียบร้อยทั่วไป
•เฝ้าระวังภัยต่างๆได้อย่างรัดกุมระงับเหตุต่อเหตุการณ์คับขันได้  อย่างมีประสิทธิภาพ 
•สอบถามหรือปฏิบัติการตรวจค้นต่อผู้มีพฤติกรรมน่าสงสัยได้อย่างมีศิลปะเหมาะสมเหตุการณ์
•ควบคุมหรือแจ้งเหตุต่อผู้กระทำผิดได้ทันท่วงที ตามความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
การตรวจตรายามวิกาล
•เดินตรวจตราทั่วบริเวณ คลุมพื้นที่ด้วยความถี่พอเพียงต่อการป้องกันการเข้ามาประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
•ตรวจสอบสถานภาพทรัพย์สินที่ล่อแหลม ตามผนังรายการที่ระบุไว้

การควบคุมนำสิ่งของเข้า-ออก

•สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดเป็นมาตรฐานการตรวจควบคุมไว้โดยเคร่งครัด
การดูแลสาธารณูปโภค
•สำรวจตรวจตราการใช้น้ำ ไฟฟ้า และแสงสว่างให้อยู่ในช่วงเวลาและตามจุดที่กำหนดไว้/ช่วยขจัดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ เช่น การเปิดน้ำ และไฟฟ้า ทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น
 
 
 
***ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจ ใช้บริการ รักษาความปลอดภัย วีซี จำกัด***

VC Security

บริษัท รักษาความปลอดภัย วีซี จำกัด

บริษัท รปภ

ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์เซฟตี้

บริการรักษาความปลอดภัย

คอนโดมิเนียม

อพาร์ทเม้น

หมู่บ้านจัดสรร

ออพฟิตสำนักงาน

โรงงานอุตสาหกรรม

หน่วยงานราชการ

โดยทีมงานมืออาชีพมีประสบการณ์

CONTACTS

30/12 ซอยสุขาภิบาล5 ซอย5 แยก16 
แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน
กรุงเทพฯ 10220
โทร./fax 02-108-6153
vc.seq12@gmail.com
092-2630186
097-2522292
086-3171945

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
0105553121867

   ผ้าขนหนูราคาโรงงาน   พาเลทมือสอง   ส่งรถมอเตอร์ไซค์   ผ้าม่านราคาถูก   อบรมการขาย   รับซื้อเครืองจักร  
เว็บสำเร็จรูป
×